Cyber Security News พบช่องโหว่ในไดร์เวอร์ Wi-Fi บน Windows หลายรุ่น

Wi-Fi บน Windows

ถ้าจะถามว่าป้จจุบันเราใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไหนภายในบ้านมากที่สุด ก็คงจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์และทำการปล่อยสัญญาณไร้สายแบบ Wi Fi เพื่อใช้งานทั่วบ้าน หรือตามอาคารสำนักงานต่าง ๆ

นั่นทำใช้ไดร์เวอร์ Wi-Fi นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต้องการรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แต่จากข่าวนี้ อาจทำให้ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows หลายรายต้องรีบกลับไปตรวจเช็คระบบของตนเองโดยด่วน

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้มีการรายงานถึงช่องโหว่ของไดร์เวอร์ Wi-Fi บนระบบปฏิบัติการ Windows ที่ถูกจัดลำดับว่ามีอันตรายสูง นั่นคือ ช่องโหว่ CVE-2024-30078 ที่เปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ที่ใช้งานอยู่บนเครือข่าย Network เดียวกัน speedtest สามารถยิงโค้ดใส่ Wi-Fi Adapters โดยที่ไม่ต้องทำการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานแต่อย่างใด ซึ่งทางไมโครซอฟท์ได้ระบุว่า เป็นช่องโหว่ที่สามารถถูกนำไปใช้งานได้ง่ายมากโดยที่ไม่ต้องทำอะไรพิเศษเพิ่มเติมเลย โดย Windows รุ่นที่ถูกตรวจพบว่ามีช่องโหว่ดังกล่าวนั้น มีดังนี้

  • Windows Server 2012 R2 (Server Core installation)
  • Windows Server 2012 R2
  • Windows Server 2012 (Server Core installation)
  • Windows Server 2012
  • Windows Server 2008 R2 for x64-based Systems Service Pack 1 (Server Core installation)
  • Windows Server 2008 R2 for x64-based Systems Service Pack 1
  • Windows Server 2008 for x64-based Systems Service Pack 2 (Server Core installation)
  • Windows Server 2008 for x64-based Systems Service Pack 2
  • Windows Server 2008 for 32-bit Systems Service Pack 2 (Server Core installation)
  • Windows Server 2008 for 32-bit Systems Service Pack 2
  • Windows Server 2016 (Server Core installation)
  • Windows Server 2016
  • Windows 10 Version 1607 for x64-based Systems
  • Windows 10 Version 1607 for 32-bit Systems
  • Windows 10 for x64-based Systems
  • Windows 10 for 32-bit Systems
  • Windows Server 2022, 23H2 Edition (Server Core installation)
  • Windows 11 Version 23H2 for x64-based Systems
  • Windows 11 Version 23H2 for ARM64-based Systems
  • Windows 10 Version 22H2 for 32-bit Systems
  • Windows 10 Version 22H2 for ARM64-based Systems
  • Windows 10 Version 22H2 for x64-based Systems
  • Windows 11 Version 22H2 for x64-based Systems
  • Windows 11 Version 22H2 for ARM64-based Systems
  • Windows 10 Version 21H2 for x64-based Systems
  • Windows 10 Version 21H2 for ARM64-based Systems
  • Windows 10 Version 21H2 for 32-bit Systems
  • Windows 11 version 21H2 for ARM64-based Systems
  • Windows 11 version 21H2 for x64-based Systems
  • Windows Server 2022 (Server Core installation)

แต่ก็มีข่าวดีคือ ทางไมโครซอฟท์ได้ทำการอุดช่องโหว่ไปแล้วจากอัปเดตในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ที่ได้ทำการอัปเดต Windows ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป แต่ถ้าผู้ใช้งานคนไหนได้ปิด Windows Update แบบอัตโนมัติ อาจจะต้องเร่งกลับไปตรวจสอบเพื่อทำการอัปเดตโดยด่วน และสำหรับสายเถื่อนนั้นอาจจะต้องหันไปใช้ระบบปฏิบัติการของแท้แทน เพื่อสวัสดิภาพของระบบและข้อมูลในเครื่องที่ประเมินมูลค่าไม่ได้

ที่มา : cybersecuritynews.com