Dev เกมส์ Free-to-Play ว่าไง ? Gen Z กว่า 43% ไม่ชอบโฆษณาในเกมส์

Free-to-Play

เมืองไทยเป็นประเทศที่มีประชากรที่เล่มวิดีโอเกมส์บนโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก โดยเฉพาะเกมส์ฟรีที่ หรือ Free-to-play เนื่องมาจากการที่ตัวเกมนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องซื้อ

เหมือนกับเกมส์แบบเสียเงินหลายๆเกมส์ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยข้อแลกเปลี่ยนบางอย่าง เช่น ต้องจ่ายเงินซื้อไอเทมเพื่อให้ได้ระดับพลังที่สูงขึ้น หรือที่ถูกเรียกกันว่า Pay-To-Win หรือ การต้องดูโฆษณาเพื่อเอาไอเท็มบางตัวที่หายาก และที่ผู้เล่นหลายคนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดีที่สุดก็คือ การดูโฆษณาแทรกโดยที่ไม่ได้อะไรแลกเปลี่ยนมาเลย ซึ่งสิ่งที่เขียนมาอย่างหลังนั้นได้ถูกยืนยันว่าเป็นความจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งจากงานวิจัยของบริษัท ZBD ซึ่งเป็นผู้พัฒนาวิดีโอเกม โดยงานวิจัยฉบับนี้นั้นพุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของเกมเมอร์ในกลุ่ม Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี กว่า 2,000 คน จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผลวิจัยนั้นได้เผยถึงความคิดเห็นบางอย่างของ Gen Z ที่มีต่อโฆษณาที่อยู่ในวิดีโอเกมส์ที่มีความน่าสนใจ ซึ่งผู้พัฒนาวิดีโอเกมส์ รวมไปถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่วางแผนที่จะทำโฆษณาบนวิดีโอเกมส์ควรให้ความสนใจ

โดยผลสำรวจนั้นพบว่ากว่า 43% รู้สึกว่าโฆษณานั้นขัดจังหวะในการเล่นเกม และสร้างความหงุดหงิดใจอย่างมาก ขณะที่อีก 50% นั้นมีความรู้สึกหงุดหงิดใจเล็กน้อยเมื่อเห็นโฆษณา แต่ยังพอรับได้อยู่ถ้าวิดีโอเกมส์ที่เล่นอยู่นั้นเป็นแบบ Free-to-play ในทางกลับกัน กว่า 74% ของเกมเมอร์ Gen Z นั้นกลับมีความยินดีที่จะรับชมโฆษณาถ้าได้สิ่งตอบแทนที่มีคุณค่าอย่างเช่น Bitcoin เป็นสิ่งตอบแทนหลังจากดูโฆษณาจบ

นอกจากนั้นแล้วยังมีข้อมูลในแง่มุมอื่นอีกที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ เช่น เกมเมอร์ Gen Z มากกว่า 67% นั้นจะให้ความเชื่อถือไว้วางใจในตัวแบรนด์ถ้าอินฟลูเอนเซอร์ (หรือที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยในชื่อว่า นักแคสเกมส์) ที่ตัวเองชื่นชอบนั้นใช้งาน และโปรโมตแบรนด์นั้น และกว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า อินฟลูเอนเซอร์ควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมถ้ามีการเชียร์แบรนด์ หรือใช้งานแบรนด์ออกสื่อ

ในส่วนของช่องทางการใช้งานสื่อสำหรับติดตามกลุ่มนักแคสเกมส์นั้น งานวิจัยยังได้บ่งชี้อีกว่า เพศชายมีแนวโน้มที่จะใช้ Youtube ในการติดตาม ขณะที่เพศหญิงนั้นจะเน้นไปในการใช้งาน TikTok เพื่อติดตามนักแคสเกมส์ที่ตนเองชื่นชอบมากกว่า

ถึงแม้ข้อมูลนี้จะมาจากทางฝั่งสหรัฐฯ เป็นหลัก แต่ก็นับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับเหล่านักพัฒนา วิดีโอเกมส์ ชาวไทย ตลอดจนนักการตลาดที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศ และจะยิ่งเป็นประโยชน์ถ้ามีเป้าหมายที่จะทำการเจาะตลาดระดับโลก แต่ถึงกระนั้นทางเราก็ขอให้ทางผู้อ่านใช้วิจารณญาณก่อนนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ และควรมีการเทียบข้อมูลจากแหล่งวิจัยหลากแหล่งเสียก่อนเพื่อความแม่นยำในการวางแผนตัดสินใจ

ที่มา : marketingtechnews.net