วิทยาการด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้น นับวันจะมีการพัฒนาที่เรียกว่าเหนือจินตนาการมากขึ้นไปทุกวัน จนคนบางกลุ่มอาจเริ่มกล่าวว่า อนาคต AI อาจจะทำได้ทุกอย่างที่คนทำ หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ
บางคนก็อาจจะกลัวว่า AI ถ้าพัฒนาไปมาก ๆ แล้วจะมาแย่งงาน ทำให้ตกงานกันหมดได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น AI อาจจะกลายมาเป็นผู้ช่วยชีวิตเราได้เช่นเดียวกัน จากการนำเอามาใช้สนับสนุนทางการแพทย์ในด้านการรักษา และตรวจโรค ดังเช่นในข่าวนี้
จากรายงานโดยสำนักข่าว BBC ศาสตราจารย์ คริส เกล (Chris Gale) แห่งสถาบัน Leeds Teaching Hospital Trust NHS และมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลีดส์ (The University of Leeds) ได้เริ่มทำการวิจัยตัวใหม่เพื่อนำเอา AI เข้ามาใช้ในการตรวจรักษาคนไข้โรคหัวใจ ด้วยการนำเอาข้อมูลทางการแพทย์ของคนไข้กว่า 565,264 ราย จากทั่วสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาใช้ในการฝึกฝนอัลกอริทึม AI ตัวใหม่ Find-HF (Find Heart Failure) ภายใต้ความสนับสนุนจากสถาบันหัวใจแห่งสหราชอาณาจักร (British Heart Foundation) ซึ่งทางผู้วิจัยนั้นมีเป้าหมายที่จะให้ AI ตัวดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหลังการพัฒนาเสร็จสิ้น
ซึ่งทางทีมงานยังมีแผนที่จะขยายไปสู่การใช้ข้อมูลของคนไข้จาก โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (Taiwan National University Hospital) กว่า 106,026 ราย เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ใช้งานกับกลุ่มคนไข้ได้กว้างยิ่งขึ้นอีกด้วย speedtest
ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนา AI ตัวนี้นั้น ทางทีมงานวิจัยและพัฒนามีจุดมุ่งหมายที่เสริมสมรรถภาพให้สามารถทำนายได้ว่า คนไข้คนไหนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยครอบคลุมถึงคนไข้ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลพร้อมอาการที่เข้าข่ายภายในกรอบเวลา 5 ปี ซึ่งทางทีมงานนั้นมุ่งหวังว่าตัว AI ตัวใหม่จะสามารถตรวจพบเจอก่อน 2 ปี ก่อนที่ภาวะหัวใจของคนไข้จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายจนไม่สามารถรักษาได้ทัน ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสีย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้อย่างมากมาย
ที่มา : www.bbc.com